วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560

แคบหมู

แคบหมู

วัตถุดิบส่วนผสม

  • มันหมูติดหนัง ยิ่งหนังหนา ยิ่งพองมาก มากน้อยตามชอบ

วิธีทำแคบหมู

  1. ล้างมันหมู
  2. หั่นเป็นชิ้นพอประมาณ อาจจะกว้าง 1 เซ็นติเมตร ยาว 2 เซ็นติเมตร
  3. เจียวเอาน้ำมันออกด้วยไฟกลาง คนขณะที่เจียว เพื่อให้น้ำมันออกมาอย่างสม่ำเสมอ
  4. เจียวอย่าให้ถึงกับเหลือง กะพอสัก 90% ของน้ำมันที่ออกมาจากมันหมู จากนั้นปิดไฟ ทิ้งไว้ค้างคืน
  5. เมื่อข้ามคืนแล้ว เปิดไฟเจียวต่อด้วยไฟระดับกลาง คนอย่าให้หมูติดเป็นก้อน เจียวจนหนังกรอบจนเป็นที่พอใจ

น้ำพริกหนุ่ม

น้ำพริกหนุ่ม
 ส่วนผสมน้ำพริกหนุ่ม
  • พริกหนุ่ม   15   เม็ด
  • กระเทียม   5   หัว
  • มะนาว   2   ลูก
  • น้ำตาลปี๊บ   1   ช้อนชา
  • หอมแดง   5   หัว
  • น้ำปลา   2   ช้อนโต๊ะ
วิธีทำน้ำพริกหนุ่ม
  1. นำพริกหนุ่ม กระเทียม หอมแดง มาเผา ให้เกรียม พักไว้ให้เย็นแล้วปอกเปลือก พริกหนุ่ม กระเทียม และหอมแดงออก
  2. นำพริกหนุ่ม กระเทียมและหอมแดงที่ปกเปลือกเสร็จแล้ว มาโขลกรวมกันให้ละเอียด
  3. เมื่อส่วนผสมเข้าดีแล้ว เติมน้ำตาล มะนาวและน้ำปลาลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วชิมถ้าอยากเพิ่มรสชาติไหนเพิ่มลงไปได้เลย

แกงอ่อมหมู

แกงอ่อมหมู

ส่วนประกอบ

  • กระดูกหมูหั่นชิ้นพอคำ 300 กรัม
  • ข่าอ่อนหั่นแว่นบาง 7 แว่น
  • ตะไคร้หั่นท่อนยาว 1 นิ้ว 1 ต้น
  • ใบมะกรูดฉีก 5 ใบ
  • รากผักชี 3 ราก
  • ผักชีฝรั่งซอย 2 ช้อนโต๊ะ
  • ผักชีซอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ต้นหอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า 1.2 ลิตร
  • คนอร์ซุปหมูก้อน 1 ก้อน
  • เครื่องน้ำพริกแกง
  • พริกแห้ง 7 เม็ด
  • พริกขี้หนูแห้ง 4 เม็ด
  • หอมแดง 3 หัว
  • กระเทียม 20 กลีบ
  • ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • ข่าแก่ซอย 1 ช้อนโต๊ะ
  • เกลือ 1 ช้อนชา
  • กะปิ ½ ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  • นำเกลือป่นกับพริกแห้งมาโขลกให้เข้ากัน ใส่กระเทียม หอมแดง ข่า ตะไคร้ และกะปิลงไป พร้อมโขลกรวมกันให้ละเอียด พักไว้
  • นำพริกแกงที่ได้ไปผัดกับน้ำมันให้หอม ใส่กระดูกหมูลงไป ผัดให้เข้ากันพอสุก
  • ใส่น้ำ ข่า ตะไคร้ และคนอร์ซุปหมูก้อนลงไป หมั่นคน ต้มต่อสักพักจนกระดูกหมูเปื่อย
  • ใส่ใบมะกรูดลงไปให้หอม ตักใส่ถ้วยโรยหน้าด้วยผักชี ผักชีฝรั่ง และต้นหอมซอยพร้อมรับประทานได้

ข้าวเหนียว

ข้าวเหนียว


นายแพทย์ กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาวและสีดำ แต่ข้าวเหนียวดำจะมีสารอาหาร  ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ “โอพีซี”  มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้   จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน ทั้งนี้สาร โอพีซียังพบใน แอป เปิ้ลแดง แอปเปิ้ลฟูจิ มะเขือม่วง หอมแดง ถั่วแดง ถั่วดำ มันสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว ลูกหว้า ด้วย
ข้อดีของข้าวเหนียว คือ เป็นอาหารร่าเริง ทำให้สมองสงบ คลายเครียด กินแล้วจะรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อิ่มท้องนาน เข้ากับยุควิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบัน
สารสำคัญในข้าวเหนียว คือ ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิก มีสรรพคุณในการสร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดสมบูรณ์ นอกจากนี้ข้าวเหนียวยังอุดมไปด้วยวิตามินอี มีสรรพคุณ ช่วยป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ ป้องกันปัญหาวุ้นนัยน์ตาเสื่อม
การนำข้าวเหนียวดำไปทำข้าวหมาก จะทำให้ได้วิตามินบี 12 ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และการนำข้าวเหนียวไปทำเป็นของหวาน โดยเอาไปมูลกับน้ำกะทิ น้ำกะทิจะช่วยสกัดวิตามินอีออกมา แต่ไม่ควรรับประทานมาก เพราะอาจทำให้อ้วน และได้รับน้ำตาลมากจนเกินไป
ข้อเสียของข้าวเหนียวก็มีเช่นกัน คือ ข้าวเหนียวให้พลังงานเยอะ ก็จะให้อนุมูลอิสระเยอะตามไปด้วย เมื่อกินเข้าไปมาก ๆ จะทำให้ง่วงนอน นอกจากนี้ในข้าวเหนียว โดยเฉพาะข้าวเหนียวขาวยังมีสารกลูเต็น ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดความเหนียวหนืด อาจทำให้บางคนเกิดอาการแพ้ได้
ในกรณีผู้สูงอายุ และเด็ก อาจจะทำให้ติดคอ อุดตันลำไส้ หรือทำให้อึดอัดท้อง ระบบทางเดินอาหารไม่ปกติได้ ดังนั้นในผู้ที่มีปัญหาระบบการย่อยอาหารไม่ดี เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว ไม่ควรกินข้าวเหนียวในปริมาณมาก และควรเน้นไปที่ข้าวเหนียวดำจะดีกว่า

วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

แกงฮังเล

แกงฮังเล

  
                         แกงฮังเลมี 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว 

  • ส่วนผสม

1.      เนื้อสันคอหมู             300   กรัม
2.      เนื้อหมูสามชั้น            200   กรัม
3.      น้ำอ้อยป่น                 2       ช้อนโต๊ะ
4.      น้ำมะขามเปียก           3       ช้อนโต๊ะ
5.      ขิงซอย                    1/2    ถ้วย
6.      กระเทียม                  1/2    ถ้วย
7.      ถั่วลิสงคั่ว                 2       ช้อนโต๊ะ
8.      สับปะรด                   2       ช้อนโต๊ะ
9.      ผงฮังเล                    2       ช้อนโต๊ะ
  • เครื่องแกง

1.      พริกแห้ง                7       เม็ด
2.      พริกขี้หนูแห้ง         4       เม็ด
3.      หอมแดง               3       หัว
4.      กระเทียม             20      กลีบ
5.      ตะไคร้ซอย            2       ช้อนโต๊ะ
6.      ข่าซอย                 1       ช้อนโต๊ะ
7.      เกลือ                    1       ช้อนชา
8.      กะปิหยาบ              1/2    ช้อนโต๊ะ
  • วิธีการทำ

1. หั่นเนื้อหมูสันคอและหมูสามชั้นเป็นชิ้น ขนาด 1.5 x 1.5 นิ้ว
2. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
3. ผสมเครื่องแกง ผงฮังเล สับปะรด และเนื้อหมู คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
4. นำหมูที่หมักไว้มาตั้งไฟ ใส่น้ำเล็กน้อย ผัดจนกว่าหมูตึงตัว เคี่ยวต่อ คอยเติมน้ำเรื่อยๆ จนหมูนิ่มได้ที่
5. ใส่น้ำอ้อยป่น น้ำมะขามเปียก ใส่กระเทียม และขิงซอย คนให้เข้ากัน เคี่ยวต่อ
6. ใส่ถั่วลิสงคั่ว พอเดือดสักพัก ปิดไฟ
รายการอ้างอิง
รัตนา พรหมพิชัย. (2542). แกงฮังเล. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ(เล่ม 1, หน้า 490). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ผักนึ่ง

ผักนึ่ง



สำหรับเมนู ผักนึ่ง จิ้มกับน้ำพริก หรือ คนเหนือ มักจะพูดกันว่า เมนู " นำพริก ผั๋กนึ่ง " ผักที่ใช้นึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผักพื้นบ้าน อย่างเช่น "ผักขี้หูด"เป็นผักที่มีประโยชน์เยอะ แคลเซียมสูง ส่วนผักพื้นเมืองอื่นๆ ก็อย่างเช่น ผักกาดจ้อน หรือ ผักกาดดอก

วิธีการทำ

1. เตรียมผักที่จะนำมาลวก
2. ล้างผักให้สะอาด
3. นำน้ำใส่ฐานรองหม้อนึ่ง แล้วตั้งไฟ
4. นำผักที่จัดเตรียมไว้ใส่หม้อนึ่ง วางบนฐานรอง
5. ผักสุกแล้ว จัดใส่จาน พร้อมเสริฟ

ไส้อั่ว

ไส้อั่ว




คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการนำสิ่งของยัดไว้ การทำไส้อั่ว นิยมใช้ไส้หมูและเนื้อหมู การทำไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหาร ให้สามารถรับประทานได้นานขึ้น คือประมาณ 1-2 วัน
  • ส่วนผสม

1.            เนื้อหมูบด    1              กิโลกรัม
2.            ไส้หมู         300           กรัม
3.            ใบมะกรูด    10              ใบ
4.            ผักชีซอย     2              ช้อนโต๊ะ
5.            ต้นหอมซอย 2              ช้อนโต๊ะ
  •       เครื่องแกง

1.            พริกแห้ง       10           เม็ด
2.            ข่าหั่น           1              ช้อนโต๊ะ
3.            ตะไคร้ซอย    2              ช้อนโต๊ะ
4.            หอมแดง       10           หัว
5.            กระเทียม       20           กลีบ
6.            กะปิ              2              ช้อนโต๊ะ
7.            เกลือ            1              ช้อนชา
  • วิธีการทำไส้อั่ว

1. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
2. ล้างไส้หมูให้สะอาด โดยใส่น้ำลงในไส้ แล้วกลับด้านในออกมาด้านนอก นำไปแช่น้ำใส่เกลือ ประมาณ 10 นาที แล้วกลับด้านนอกออกเหมือนเดิม
3. ใส่เครื่องแกงลงคลุกเคล้ากับเนื้อหมูบดให้เข้ากัน
4. ใส่ผักชีต้นหอมซอย ใบมะกรูดซอย คลุกเคล้าให้เข้ากัน
5. นำหมูที่คลุกเคล้าเรียบร้อยแล้ว มากรอกใส่ไส้หมู โดยใช้กรวยช่วยในการกรอกหมูใส่ไส้
6. เมื่อกรอกไส้จนเต็มแล้ว มัดปากไส้
7. นำไส้อั่วที่ได้มาย่างไฟอ่อนๆ จนสุกเหลืองทั่ว ประมาณ 45 นาที


รายการอ้างอิง
รัตนา พรหมพิชัย. (2542). ไส้อั่ว. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 14, หน้า 7257). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

แคบหมู

แคบหมู วัตถุดิบส่วนผสม มันหมูติดหนัง ยิ่งหนังหนา ยิ่งพองมาก มากน้อยตามชอบ วิธีทำแคบหมู ล้างมันหมู หั่นเป็นชิ้นพอประมาณ อาจจะกว้...